ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ , สถานที่ปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๓๐
ขอเชิญร่วมสร้างบุญสนับสนุนเป็นเจ้าภาพ มื้ออาหารกลางวันเด็กนักเรียน มื้อละ 2,500 บาท
ทุนการศึกษาตามเจตนา
สุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ
ติดต่อ เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว พระครูสุภัทรรัตนากร 082-563-5159
ขออานิสงค์ผลบุญลุแก่ตัวท่านและครอบครัว เจริญสุข เจริญทรัพย์ เจริญศักดิ์
ขอเชิญ ร่วมทำบุญ
เป็น "เจ้าภาพ" ร่วมสร้าง
ท้าวเวสสุวรรณใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
" ขนาดสูง 9 เมตร "
ทรงเดช ทรงทรัพย์ ทรงศักดิ์
หนึ่งเดียวในแผ่นดินพุทธศิลป์
พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
อดีตรอง ผบ.ตร แห่งชาติ ด้านความมั่นคง ร่วม พิธีปลุกเสก ฐานท้าวเวสสุวรรณ
เจ้าอาวาส วัดดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
พระครูสุภัทรรัตนากร (เจริญศักดิ์ สิริภทฺโท)
ประวัติพระอาจารย์
วิทยฐานะ น.ธ. เอก, รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ( การเมืองการปกครอง ) วัดดอนแก้ว ตำบล ดอนแก้ว อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันดำรงค์ตำแหน่ง
๑. เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่
๒. เจ้าสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๓๐
๓. เจ้าคณะตำบลดอนแก้ว
๔. เลขานุการที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ พระสิทธิสิงหเสนี วัดพระยาสุเรนทร์
ประวัติ วัดดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
วัดดอนแก้ว ตั้งอยู่ในท้องที่รอยต่อระหว่างบ้านดอนแก้วหมู่ที่ ๒ กับหมู่ที่ ๙ ตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีสถานะเป็นวัดราษฎร์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๐ โดยการนำของ "หาญเสือแผ้ว" หรือพญาหาญเสือแผ้ว (สิทธิ นรา) ซึ่งเป็นขุนนางคนสำคัญของราชสำนักเชียงใหม่ในสมัยเจ้าหลวงแผ่นดินเย็น หรือ เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๖๙- ๒๓๘๙) และอยู่ในหน้าที่ราชการต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้ามหาชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ (พ.ศ.๒๓๙๙ - ๒๔๑๓)
สำหรับชุมชนที่ตั้งวัดดอนแก้วและหมู่บ้านดอนแก้วในปัจจุบัน (บ้านแพะ บ้านลุ่ม บ้านหนองฟาน และสบสา) ในอดีตเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วเป็นแหล่งชุมชนตั้งเดิมริมฝั่งแม่น้ำ โดยอยุ่ห่างจาก กำแพงเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ ๑๒ ก.ม.เป็นเขตที่ลุ่มเชิงเขาฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง ใกล้กับเทือกเขาดอยปุยและดอยแม่สา มีไร่นา เหมืองฝายหลายสาย ซึ่งเป็นฝีมือการขุดสร้างของคนโบราณเพื่อนำน้ำเข้าสู่ไร่นาแหล่งเพาะปลูก เคยเป็นชัยพลและที่พักไพร่พลช้างม้า ภายใต้การนำของ "พญาหาญเสือแผ้ว" ในสมัยฟื้นฟูสร้างเมืองเชียงใหม่ยุคนั้น
โดยมีบริเวณที่เลี้ยงช้างและเตาหลอมโลหะเพื่อผลิตเครื่องมืออาวุธประเภทต่างๆอยู่ในหมู่บ้าน เนื่อจากเป็นชุมชนที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก มีทั้งพื้นที่เขตหุบเขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ
เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่สมัยนั้น จึงไปสร้างคุ้มที่พำนักนอกเมืองเอาไว้ในพื้นที่ โดยเชื่อว่าสร้างไว้ตั้งแต่ห้วงการซ่องสุมไพร่พลกองทัพเพื่อขับไล่พม่า ซึ่งใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีเส้นทางลำแม่น้ำปิง ที่ไม่คดเคี้ยวสามารทใช้แพและเรือเล็กสัญจร ไป มา เข้าสู่ตัวเมืองได้สะดวก เจ้าเมืองเชียงใหม่และบรรดาเจ้านายรวมทั้งประชาชนทั่วไปจึงนิยมใช้ทางน้ำในการเดินทางไปมาเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งรวดเร็วกว่าทางเกวียน (ทางบก) ดังนั้นจึงมีที่พำนักของเจ้าเมือง และผู้นำราชสำนักตั้งอยู่หลายแห่งในทางตอนเหนือของตัวเมืองใกล้กับลำแม่น้ำ เช่นคุ้มหลวงของ "เจ้ามหาชีวิตอ้าว" ที่บริเวณใกล้บ้านสบริม (ท้องที่ ต.ริใต้ อ.แม่ริม) ห่างจากชุมชนบ้าน ดอนแก้ว ขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร ส่วนที่หมู่บ้านดอนแก้ว (บ้านลุ่ม) เป็นที่ตั้งคุ้มบ้านของ "พญาหารเสือแผ้ว" โดยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางตอนใต้ของที่ตั้งวัดปัจจุบัน ซึ่งลูกหลานพญาหารเสือแผ้วเล่าว่า บริเวณหน้าบ้านของพญาหาญเสือแผ้ว เป็นที่พักเลี้ยงฝูงช้างและให้ฝูงช้างลงอาบน้ำ และคั้งใดที่เจ้ามหาชีวิตอ้าวเสด็จไปเยี่ยมหาญเสือแผ้วถึงคุ้มบ้านพัก ก็จะมีการปูลาดผ้าแดงต้อนรับ ตั้งแต่ประตูรั้วบ้านไปจรดบันใดบ้านเลยทีเดียว
สำหรับความเป็นมาของ วัดดอนแก้ว
ก่อนที่จะมีการสร้างวัดใหม่ในปี ๒๓๕๐ นั้น เคยมีวัดมาก่อนแล้วรวม ๒ วัด ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน คือ วัดห่าง (วัดร้าง) ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันออกของที่ตั้งวัดในปัจจุบัน และวัดอรินตอง (รินตอง) ซึ่งตั้งอยู่บนเนินที่ดอนทางตะวันตกของวัดในปัจจุบันในระยะ ๕๐๐ เมตร ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านดอนแก้ว
โดยวัดแห่งแรก ("วัดห่าง") คาดว่าเป็นวัดร้างมาแต่โบราณ อาจเนื่องมาจากเกิดน้ำท่วมใหญ่และลำแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางทำให้ตัววัดถูกตัดขาดจากชุมชนกลายเป็นเกาะดอนกลางแม่น้ำ ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปมาสู่วัด จึงมีการสร้างวัดแห่งที่สอง คือวัดรินตอง บนที่ดอนเนินเขา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม โดยวัดแห่งที่ ๒ นี้เชื่อว่าสร้างในสมัยล้านนา ก่อนที่พม่าจะเข้ามายึดครองเมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๐ โดยวัดนี้มีเขตอุโบสท กลางน้ำอยู่ที่ "หนองวง" ทางตะวันออกของที่ตั้งโรงเรียน บ้านดอนแก้วในปัจจุบัน แต่เมื่อถึงสมัยพม่ารุกราน ประชาชนได้พากันอพยพหลบหนีออกจากตัวเมืองไปอยู่ตามแทบป่าเขาเป็นส่วนใหญ่ วัดรินตองหรืออรินตองจึงกลายเป็น วัดร้าง สิ่งปลูกสร้างเสื่อมสลาย ตามกาลเวลาในห้วง ๒๐๐ ปีที่ถูกยึดครอง จนมาถึง ยุคการฟื้นฟูสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ในสมัยพระยาจ่าบ้าน (พ.ศ. ๒๓๑๗ - ๒๓๑๙) และ พระยากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๖) จึงมีการชักชวนประชาชนออกจากป่าเขาลงมาตั้งบ้านสร้างเมืองในแถบตัวเมืองกันใหม่ ดังนั้นชุมชนริมแม่น้ำปิงแถบบ้านลุ่ม บ้านแพะ และบ้านหนองฟาน-สบสา ซึ่งเคยเป็นชุมชนตั้งเดิมมาก่อน จึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมา เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ยุคสงบสุขแล้วเป็นปึกแผ่นดีแล้ว พญาหาญเสือแผ้ว ผู้นำเหล่าทัพและประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ได้เป็นผู้นำในการก่อสร้างวัดแห่งใหม่ขึ้น แทนที่วัดร้างเดิมทั้งสองแห่ง โดยในชั้นแรกเรียกกันว่า "วัดหาญเสือแผ้ว" แต่ภายหลังเรียกเป็นวัดดอนแก้ว ซึ่งเข้าใจว่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ดอนเสือแผ้ว" ซึ่งน่าจะหมายถึงที่ดอนชายป่า (บ้านแพะ)อันเป็นที่ตั้งไพร่พลฝูงช้างของพญาหาญเสือแผ้ว ปัจจุบันยังมีศาลาพ่อบ้านพญาหาญเสือแผ้วตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้กับสี่แยกกลางหมู่บ้านดอนแก้ว หมู่ ๒ ปัจจุบัน
สำหรับสิ่งปลูกสร้างภายในวัดดอนแก้วของเดิมที่สร้างเมื่อปี ๒๓๘๐ คือ วิหารก่ออิฐถือปูนทางศิลปะล้านนา กำแพงวัดซึ่งสร้างด้วยอิฐสอปูน ๔ ด้าน ศาลารายติดกำแพงวัดด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออก
โรงเรือนกุฎิพระภิกษุสงฆ์สามเณร ซึ่งเป็นอาคารไม้มุงกระเบื้องดินเผาแบบ ๒ ชั้น (ยกพื้นสูง) ด้านใต้ของตัววิหาร และพระอุโบสถกลางหนองน้ำหน้าวัด (ทิศตะวันออก) ซึ่งสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งและไม้สัก แต่สิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมดังกล่าว ได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา โดยมีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ไปแล้วอย่างน้อย หนึ่งครั้งเมื่อห้วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ในสมัยของ
พระครูบาคำปัน ชยฉนฺโท (พระครูวิวิธสังฆการ) เป็นเจ้าอาวาสวัด ซึ่งได้สร้างพระวิหารหลังใหม่แทนที่วิหารหลังเก่าที่ทรุดโทรมไป สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ในเขตกำแพงวัด แทนที่พระอุโบสถกลางหนองน้ำของเดิม รวมทั้งสร้างกุฎิพระภิกษุสงฆ์สามเณรหลังใหม่แทนเรือนไม้หลังเก่า และมีการบูรณะรั้วและประตูทางเข้าวัดให้ เป็นแบบใหม่แทนที่ของเดิมที่ผุกร่อน และทรุดตัวเพราะปัญหาน้ำท่วมแทบทุกปี มาในปีตั้งแต่ ๒๕๕๓
พระครูบาคำปัน ชยฉนฺโท (พระครูสังฆการ)
ภายหลังต่อมา พระใบฎีกาเจริญศักดิ์ สิริภทฺโท(พระอาจารย์อ๊อด) เจ้าอาวาส ได้ทำการบูรณะอุโบสถ หอระฆัง สร้างวิหารหลังเล็ก หอไตร ศาลาน้ำบ่อแก้ว และได้สร้างท้าวเวสสุวรรณไม้ขนุนแกะขนาด สูง 3.02 เมตร เพื่อให้ศรัทธาได้สักการบูชาขอพร
ปัจจุบัน วัดดอนแก้ว เชียงใหม่ ได้รับการแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคมให้เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๓๐ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๓
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบดังนี้
- รูปที่ ๑ ครูบาสมุทร พ.ศ. ๒๓๘๐ - ๒๔๒๒
- รูปที่ ๒ ครูบาเมธา พ.ศ. ๒๔๒๒ - ๒๔๔๘
- รูปที่ ๓ ครูบาปัญญา พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๒๔๖๓
- รูปที่ ๔ พระอธิการศรีมอย พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๔๗๐
- รูปที่ ๕ พระอธิการศรีวงศ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๘๒
- รูปที่ ๖ พระครูวิวิธสังฆการ (ครูบาคำปัน ชยฉนฺโท) พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๓๗
- รูปที่ ๗ พระอธิการอินสม สมิสฺสโร พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๔๙